Playboy Pink

กำแพงเมืองจีน

กำแพงเมืองจีน (The Great Wall)

                กำแพงเมืองจีนตั้งอยู่ระหว่างด่านเจียอี้กวนในมณฑลกันซู่ทางภาคตะวันตกถึงริมฝั่งแม่น้ำยาลู่ในมณฑลเหลียวหนิง
องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้กำแพงเมืองจีนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ในปี ค.1987

กำแพงชีวิตแห่งแดนมังกร
ภาพนักท่องเที่ยวยืนโพสท่าถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึกว่าเคยยืนอยู่บนกำแพงเมืองจีนอันลือลั่นไปทั่วโลก เป็นภาพที่เห็นจนชินตาของประชาชนชาวจีน หากแต่เรื่องราวความเป็นมาของสถาปัตยกรรมอันน่าพิศวงแห่งนี้ มิได้สะท้อนให้เห็นเพียงความยิ่งใหญ่ และภูมิปัญญาแสนล้ำเลิศของมนุษย์เท่านั้น ทว่าเบื้องหลังกำแพงที่มั่นคงแข็งแรงดังที่เห็นทุกวันนี้ ผ่านความยากลำบาก ใช้เวลาก่อสร้างนับพันๆปีและต้องใช้แรงงานกว่าหลายล้านคน รวมถึงทรัพยากรจำนวนมหาศาล เพื่อเป็นกำแพงขวางกั้นไม่ให้อนารยชนเข้ามารุกราน
ไม่ว่าสมัยราชวงศ์ฉิน หรือสมัยราชวงศ์หมิง การสร้างกำแพงเต็มไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากกำแพงส่วนใหญ่สร้างบนเขาสูง จึงต้องเผชิญกับธรรมชาติอันน่าสะพรึงกลัว ทั้งภูเขาสูงเสียดฟ้า หุบเหวลึก สายน้ำเชี่ยวกราก และทะเลทรายอันแห้งลึก กำแพงเมืองจีนนั้นทอดตัวลดเลี้ยวผ่านดินแดนอันกว้างใหญ่ของดินแดนมังกร มีจุดเริ่มต้นที่เมืองชันไห่ก๋วนอยู่ติดกับทะเลเหลือง และสิ้นสุดที่เมืองยูเมนเขตชายแดนติดกับทะเลทราย ตัวกำแพงมีความสูง 3-8 เมตร กว้าง 4-6 เมตร และยาวประมาน  5,000 กิโลเมตร หรือเรียกว่า 1,000 ลี้ นี่เป็นที่มาของคำว่า “กำแพงหมื่นลี้” กำแพงดังกล่าวประกอบด้วยส่วนสำคัญคือ กำแพงเมืองหอคอย ป้อมปราการ และหอส่งสัญญาณ  วัสดุที่ใช้ก่อสร้างมีหลายขนาด ขนาดเล็กอาจมีน้ำหนักหลายสิบชั่ง ขนาดใหญ่อาจมีน้ำหนักหลายพันชั่ง(1 ชั่ง = 8ครึ่งกิโลกรัมโดยประมาณ)สมัยนั้นไม่มีเครื่องทุ่นแรงหรือเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัย ฉะนั้นการขนส่งวัสดุยอมเป็นความลำบาก
ทหารและชาวบ้านถูกเกณฑ์มาใช้แรงงานอย่างหนักท่วมกลางสภาพที่โหดร้าย ผู้คนล้มตายไปหลายพันคนเพราะความเหน็ดเหนื่อย ความหนาวเย็น และอดยาก บ้างต้องพลัดพรากจากครอบครัว คนรัก บ้างก็สูญหายไปอย่างไรร่องรอย มองอีกมุมหนึ่งกำแพงเมืองจีนได้นำความทุกข์ระทมมาสู่ประชาชนอย่างแสนสาหัส กำแพงเมืองจีนซึ่งประกอบด้วยอิฐและหินแต่ละก้อน ล้วนมาจากหยาดเหงื่อ เลือดเนื้อ และชีวิตบรรพบุรุษของคนในชาทั้งสิ้น

คลี่ม่านตำนานกำแพง
ในหมู่ชาวจีนมีตำนานเล่าขานว่ากำแพงเมืองจีนสร้างขึ้นตรงบริเวณที่ของมังกร สัตว์ในเทพนิยายที่ชาวจีนเชื่อกันว่าเป็นที่เทพเจ้าอาศัยอยู่ในแล่งน้ำนี้ นับแต่นั้นมา มังกรจึงกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจของจักรพรรดิจีนเหมือนดังความยิ่งใหญ่ของกำแพงเมืองจีน
คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่ากำแพงเมืองจีนสร้างขึ้นในสมัยฉิมซีฮ่องเต้ แห่งราชวงศ์ฉิน แต่จากหลักฐานพบว่าสมัยดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นการสร้างเพิ่มเติมจากกำแพงเก่าที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยชุนชิวจ้านกร๋อส่วนแคว้นแรกที่เริ่มก่อสร้างกำแพงเมืองแบบนี้น่าจะเป็น”แคว้นฉู่” ราชวงศ์โจ โดยสร้างขึ้นราว 700 ปี ก่อนคริสต์ศตวรรษ สมัยนี้เรียนกำแพง”ฟังเฉิน” หรือ “เลี่ยเฉิน” ภายหลังจึงพัฒนารูปแบบด้วยการสร้างป้อมปราการเล็กๆตามส่วนต่างๆของกำแพงเพื่อป้องกันการรุกรานของเหล่าอนารยชน
อนารยชนในความหมายของชาวจีน คือ ผู้ที่พยายามรุกรานแว่นแคว้นแผ่นดินจีนเป็นชนหลายกลุ่มที่ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง ชนกลุ่มนี้จะสร้างกระโจมกลมๆ ตามแหล่งน้ำและทุ่งหญ้าเป็นที่พักพิงชั่วคราว ร่อนแร่ เลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพหลัก และที่สำคัญเป็นนักปล้นสะดมตัวยง

ว่านหลี่ฉางเฉิน:กำแพงแห่งชีวิต
“ว่านหลีฉางเฉิน” คือ อีกชีวิตหนึ่งที่ชาวจีนใช้เรียกกำแพงนี้ ซึ่งหมายถึง “กำแพงยาว” ชื่อดังกล่าวปรากฏขึ้นหลังจากฉินซีฮ่องเต้ปราบแคว้นต่างๆและรวมเอาราชอาณาจักรจีนเป็นปึกแผ่น เพื่อความมั่นคงของแผ่นดิน พระองค์จึงมีแนวคิดที่จะสร้างกำแพงเมืองเพื่อป้องกันการรุกรานของอนารยชน ทรงเกณฑ์แรงงานหลายล้านคนเพื่อสร้างกำแพงไว้ตั้งค่ายทหารในการตรวจตราข้าศึก แต่เมื่อเวลาผ่านหลายร้อยปีกำแพงเริ่มทรุดโทรมจนท้ายที่สุดจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิงจึงทรงทำการบูรณะ และสร้างเพิ่มเติมขึ้นใหม่ในราวศตวรรษที่ 15
ส่วนการก่อสร้างใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นเป็นหลัก เช่น แหล่งที่มีหินมากอย่างภูเขาก็ใช้หินเป็นหลัก แต่หากแหหินล่งใดมีดินมากก็ใช้ดินอัดแน่น หรือบางพื้นที่ไม่มีทั้งดินและหิน เช่น เขตทะเลทรายโกบีที่มีแต่ทรายและกรวดล้วนๆ ก็ใช้ดินและทราย ประการสำคัญจะพิจารณาตามความเหมาะสมของภูมิประเทศ คือ พยายามใช้ธรรมชาติเป็นป้อมปราการป้องกันข้าศึก กำแพงเมืองจีนจึงต้องสร้างผ่านภูเขาที่สูงชันและแม่น้ำที่เชี่ยวกรากทำให้การก่อสร้างต้องเกณฑ์แรงงานจำนวนมหาศาล ขณะเดียวกันก็ทำให้แรงงานล้มตายจำนวนมมากเช่นกันพลเมืองกว่า 3 ล้านคนต้องกลายเป็นแรงงานทาส จนเกิดคำเปรียบเปรยว่า หินแต่ละก้อนของกำแพงนี้ ก็คือชีวิตของแรงงาน 1 คนนั้นเอง
ปริศนาสำคัญข้อหนึ่งเกี่ยวกับกำแพงเมืองจีนก็คือวัสดุจำพวกอิฐ ปูนสอ และหินที่ใช้ในการก่อสร้าง มีการมีการขนส่งอย่างไร จากหลักฐานประเภทตำนานทำให้ทราบว่า ชาวจีนมีวิธีกาขนส่งวัสดุก่อสร้าง 3 วิธี คือ วิธีแรกใช้แรกงานขนในการขนส่ง โดยให้คนยืนต่อแถวต่อกันเป็นระยะยาวและส่งวัสดุก่อสร้างต่อๆกันไป วิธีต่อมาใช้สัตว์พวกแกะ ลา และอูฐ เป็นพาหนะส่งของ วิธีสุดท้ายใช้เทคโนโลยีทุ่นแรงจำพวกรถเข็น ไม้เลื่อน และเครื่องยกคล้ายรอกติดตั้งไว้บนยอดเขา เพื่อใช้ยกหินก้องใหญ่ๆ จากด้านล่างขึ้นไปใช้ด้านบน

ป้อมปราการ หอคอย และหอสัญญาณไฟ
ตลอดแนวกำแพงเมืองจีนจะมีป้อมปราการ หอคอย และหอสัญญาณไฟไว้คอยเฝ้ายามโดยกำหนดจุดเป็นระยะๆ ที่น่าสนใจคือ หอสัญญาณไฟจะสร้างยกพื้นสูง มีโรงเก็บเครื่องมือเครื่องใช้และเชื้อไฟ ด้านใต้ยกพื้นเป็นที่พักสำหรับทหาร ม้า และคลังเก็บสิ่งของ มีกำแพงเล็กล้อมรอบอีกทีหนึ่ง โครงสร้างส่วนใหญ่ที่นิยมสร้างมี 4 รูปแบบคือ แบบที่หนึ่งสร้างทั้งสองด้านทั้งด้านนอกและด้านในใกล้กับกำแพงใหญ่ แบบที่สองสร้างภายนอกตัว กำแพงซึ่งอยู่ไกลออกไปมาก แบบที่สามเชื่อมโยงกับมณฑลอันเป็นที่ประทับของจักรพรรดิหรือเมืองหลวง แบบที่สี่สร้างแบบมณฑลที่เป็นเพื่อนบ้านใกล้เคียงกันหรือเมืองป้อม เมืองด้านในเขตทหารมีชื่อเรียกต่างกัน”หอเฟิงไท่” สร้างขึ้นในสมัยถังและซ้อง ส่วนราชวงศ์หมิงพบ”หอหยานตุ้น” เป็นต้น
นอกเหนือจากเป็นป้อมปราการป้องกันศัตรู ชาวจีนยังใช้สัญญาณจากการเผา”มูลสุนัขจิ้งจอก” เป็นเครื่องมือสื่อสารกันระหว่างเมือง เพราะควันที่เกิดจากสุนัขจิ้งจอกมีประสิทธิภาพในการสื่อสาร คือลอยอยู่บนท้องฟ้าได้เป็นเวลานาน โดยไฟสัญญาณจะถูกจุดขึ้นในตอนเช้าและเย็น เพื่อป่าวประกาศว่าเหตุการณ์ปกติ แต่หากสัญญาณไม่ถูกจุด เป็นอันรู้กันว่ามีข้าศึกเข้ามายึดครองหอสัญญาณไฟแล้ว ชาวจีนจึงเรียกหอสัญญาณไฟที่ติดตั้งตามหอกำแพงว่า”หอไฟมูลสุนัขจิ้งจอก”

แหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวโลก




ปัจจุบันกำแพงเมืองจีนมิได้ใช้ประโยชน์ในฐานะป้อมปราการอีกต่อไป แต่ยังคงเป็นสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะโดดเด่น และบางส่วนชำรุดเสียหายก็ได้รับการซ่อมแซม จนกลายเป็นแล่งท่องเที่ยวที่มีสภาพสมบูรณ์ แต่ละหอสังเกตการณ์ต่างถูกยึดโดยกลุ่มคนที่เข้ามาทำธุรกิจถ่ายรูปที่ระลึก โดยมีทั้งให้เช่าชุดชาวจีนถ่าย หรือถ่ายด่วนรอรับได้เลย ซึ่งบริเวณผนังกำแพงถูกติดป้ายโฆษณาและตั้งร้านเลอะไปหมด ไม่ต่างอะไรกับโบราณสถานหลายที่ของโลก
อย่างไรก็ตาม กำแพงเมืองจีนมีความหมายทางประวัติศาสตร์ คุณค่าทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก กำแพงเมืองจีนหลายช่วงได้รับการอนุรักษ์ค่อนข้างดี เช่น ด่านป๋าต้าหลิ่ง ซือหม่าไถ มู่เถียนอี้ ชานไห่กวน และเจี้ยอี้กวน  ล้วนเป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยี่ยมชมตลอดทั้งปี
บัดนี้ กำแพงเมืองจีนที่เคยปกป้องการรุกรานของอารยชน กลับกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดึงดูดคนทุกชาติทุกภาษาเข้ามาสำรวจทุกแง่ทุกมุมด้วยความสนใจ ใคร่รู้ปัจจุบันกำแพงเมืองจีนเป็นขุมทรัพย์อันประเมินค่ามิได้ ให้ชาวจีนรุ่นหลังได้ผลประโยชน์อย่างง่ายดายจากความเสียสละอันยิ่งใหญ่ของบรรพบุรุษ และนี่คือโลกที่เปลี่ยนไป

เวลาแห่งชีวิต
700 ปี ก่อนคริสต์ศตวรรษ   เริ่มก่อตัวกำแพงเมืองจีน
221ปี  ก่อนคริสต์ศตวรรษ   ฉินซีฮ่องเต้สถาปนาอาณาจักรจีน
ค.ศ. 1448-1635        สมัยราชวงศ์หมิงมีการบูรณะซ่อมแซมเพิ่มเติม โดยใช้อิฐและหินแกรนิตเป็นวัสดุสำคัญในการก่อสร้าง 

 เชื่อหรือไม่ว่ากำแพงเมืองทั้งหมดภายในประเทศจีนมีระยะทางกว่า 50,000  กิโลเมตร ซึ่งมีความยาวเท่ากับเส้นรอบโลก
หากถามว่ากำแพงเมืองจีนมีความยาวเท่าไร อาจฟังดูเป็นคำถามง่ายๆ แต่ถ้าลองค้นหาข้อมูลกันอย่างจริงจังแล้วล่ะก็ เราจะพบคำตอบที่มากกว่าหนึ่งและสร้างความสับสนงงงวยได้ไม่น้อยทีเดียว กำแพงเมืองจีนขนานแท้ดั้งเดิมที่แล้วเสร็จมีความยาวกว่า 5,000 กิโลเมตร จากนั้นราชวงค์ต่างๆก็ทยอยสร้างต่อเรื่อยมา ส่วนใหญ่จะสร้างราชวงค์หมิง(พ.ศ. 911-2187) กำแพงที่เราเห็นในปัจจุบัน คือ ผลงานจากการบูรณปฏิสังขรณ์และความมานะพยายามเป็นเวลา 200 ปี ความยาวทั้งหมดของกำแพงเมืองจีนมากกว่า 6,000 กิโลเมตร และนี่คือตัวเลขที่อ้างอิงล่าสุด
มีการกล่าวอ้างว่าในช่วงระยะเวลา 2,000 ปี ที่ผ่านมา ผู้ปกครองของจีนในสมัยต่างๆเคยสร้างกำแพงเมืองไว้ไม่มากก็น้อย รวมๆแล้วมีระยะทางยาวกว่า 50,000 กิโลเมตร ซึ่งสามารถล้อมโดลกได้ 1 รอบ






อ้างอิง: เอรกรินทร์ พึ่งประชา. มรดกโลก มรดกมนุษยชาติ .พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ปาเจรา, 2550.
ที่มาของภาพ:  https://www.google.co.th
ที่มาของวีดีโอ:  http://www.youtube.com/watch?v=CRfKMJ2Bnu4

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น