Playboy Pink

พระราชวังต้องห้าม

พระราชวังต้องห้าม (FOrbidden city)
            


สิ่งก่อสร้างสีเหลืองอร่ามตาน่าเกรงขามแห่งนี้มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 500 ปี สร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิหย่งเล่อ แห่งราชวงศ์หมิงเมื่อปี ค.. 1406 ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 14 ปี เป็นทั้งบ้านและชีวิตของจักรพรรดิในราชวงศ์หมิงและชิงรวมทั้งสิ้น 24 พระองค์ เหตุที่เรียกพระราชวังต้องห้าม เนื่องมาจากในอดีตชาวจีนมีความเชื่อว่า จักรพรรดิเปรียบเสมือนบุตรแห่งสวรรค์ดังนั้นวังของบุตรแห่งสวรรค์จึงเป็นเขตหวงห้ามมิให้สามัญชนคนธรรมดาล่วงล้ำเข้ามาได้ หรือแม้กระทั่งขุนนางชั้นสูงก็ต้องขออนุญาตเป็นกรณีพิเศษเสียก่อน จักรพรรดิจะทรงประทับอยู่ในพระราชวังและปิดกั้นพระองค์จากโลกภายนอก จวบจนกระทั่งมีการปฏิวัติประเทศจีนเป็นสาธารณรัฐ พระราชวังต้องห้ามจึงเปิดให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้มีโอกาสเข้าชม
            นอกจากนี้ พระราชวังต้องห้ามยังมีความโดดเด่นด้านภูมิสถาปัตย์ที่แสดงให้เห็นถึงเอกภาพในความสัมพันธ์ระหว่างตัวพระราชวังกับชุมชนอย่างชัดเจน คือ ตัวพระราชวังตั้งอยู่ใจกลางเมือง มีถนนเส้นแกนตัดตรงในแนวทิศเหนือใต้ มีกำแพงและสระน้ำล้อมรอบ ป้อมปราการหลายชั้นก่อนถึงตัวพระราชฐานชั้นใน ภายในประกอบด้วยตำหนักสำคัญ 3 หลัง ทาสีแดง หลังคาใช้กระเบื้องสีเหลือง มีการตกแต่งที่เน้นให้ความสำคัญขององค์จักรพรรดิด้วยการใช้ลายมังกรเป็นสื่อปัจจุบัน พระราชวังต้องห้ามได้เปลี่ยนมาเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งกรุงปักกิ่งให้ชนรุ่นใหม่ได้ศึกษาถึงความอลังการแห่งสถาปัตยกรรมและซึมซับความรู้ฉากหนึ่งของประวัติศาสตร์จีน

จาก นานกิงสู่ ปักกิ่ง
                ราว ค.. 1402 ยุคต้นของราชวงศ์หมิง จักรพรรดิหย่งเล่อทรงดำริให้ย้ายเมืองหลวงจากหนานจิงมาที่ปักกิ่ง ซึ่งเป็นที่พระองค์ประทับอยู่ตอนที่ยังเป็นเจ้าชาย การย้ายเมืองหลวงครั้งนี้ พระองค์ทรงสั่งให้มีการอพยพประชาชนหลายแสนคนจากเมืองหนานจิง มณฑลชานซีและมณฑลเจ้อเจียง เข้ามายังเมืองปักกิ่งเพื่อทำให้เมืองมีความเข้มแข็ง พร้อมใช้เป็นแรงงานสำคัญในการสร้างพระราชวังต้องห้าม โดยเริ่มก่อสร้างปี ค.. 1406

รูปโฉมของพระราชวังต้องห้าม
            พระราชวังโบราณตั้งอยู่บนพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 720,000 ตารางเมตร จากทิศเหนือถึงทิศใต้มีความยาวประมาณ 960 เมตร จากตะวันออกถึงตะวันตกกว้างประมาณ 760 เมตร โดยมีกำแพงที่สูงกว่า 10 เมตร ล้อมรอบพร้อมด้วยหอสังเกตการณ์ทั้ง 4 ด้าน และนอกเขตกำแพงขนาบข้างด้วยคูเมืองที่มีความลึกกว่า 6 เมตร พระราชวังโบราณสร้างโดยยึดหลักขนบธรรมเนียมของระบบศักดินาคือ อำนาจสูงสุดของประเทศอยู่ที่จักรพรรดิเพียงพระองค์เดียว ดังนั้น รูปแบบทางสถาปัตยกรรมและการตกแต่งจึงเน้นความใหญ่โตโอ่อ่าเพื่อให้เกิดความรู้สึกน่าเกรงขามมากกว่าเน้นด้านประโยชน์ใช้สอย
            พระราชวังแบ่งพื้นที่ออกเป็นสองส่วนใหญ่ๆ คือ เฉียนเชาเป็นพระราชวังส่วนหน้าตั้งอยู่ด้านใต้ และ เน่ยติงเป็นพระราชวังส่วนใน ตั้งอยู่ด้านเหนือ ส่วนบริเวณกึ่งกลางของพระราชวังเป็นที่ตั้งของพระที่นั่งใหญ่ 3 องค์ คือ พระที่นั่งไท้เหอเตี้ยน จงเหอเตี้ยน และป่าวเหอเตี้ยน พระที่นั่งทั้งสามทาสีแดงทั้งหลัง หลังคาใช้กระเบื้องสีเหลือง ตัวอาคารมีความกว้างใหญ่ สูงเด่นตั้งอยู่บนระเบียบยกพื้นสูง ระเบียงสร้างด้วยหินอ่อนสีขาวยกพื้นสามชั้น แต่ละชั้นมีลูกกรงหินอ่อนเตี้ยๆ เสาลูกกรงมีส่วนบนจำหลักเป็นรูปเมฆและมังกร พื้นที่ต่อระหว่างเสาลูกกรงประดับด้วยแจกันดอกบัว ที่ส่วนฐานของเสาลูกกรงเจาะเป็นช่องระบายน้ำเล็กๆ ทำเป็นรูปหัวมังกร มีช่องเล็กๆที่ปาก ทางขึ้นพระที่นั่งตรงระเบียงแบ่งออกเป็นสามช่องช่องกลางเป็นแผ่นหินอ่อนขนาดใหญ่จำหลักเป็นรูปมังกร เพื่อให้องค์จักรพรรดิเสด็จผ่านเท่านั้น

ผังสี่เหลี่ยม จักรพรรดิและจักรวาล


                ชาวจีนเชื่อว่าพระราชวังต้องห้ามเป็นจุดที่อยู่ใจกลางกรุงปักกิ่ง มีรูปลักษณ์เป็นสี่เหลี่ยม ตามความเชื่อโบราณที่ว่า โลกมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม ขณะที่สวรรค์มีลักษณะเป็นวงกลมซึ่งสังเกตความแตกต่างจากการก่อสร้างสถานที่สำคัญของปักกิ่งสองแห่ง คือ เทียนถาน (สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อีกแห่งหนึ่งตั้งอยู่ในเมืองปักกิ่ง) มีรูปลักษณ์เป็นทรงกลมและมีหลังคาเป็นสีฟ้าคราม ขณะที่พระราชวังต้องห้ามจะมีลักษณะของพื้นที่เป็นสี่เหลี่ยมและมีหลังคาเป็นสีเหลือง คล้ายกับสีของดินเป็นสัญลักษณ์ระบุถึงความเชื่อว่า องค์จักรพรรดิ อยู่ ณ ศูนย์กลางของจักรวาล ผืนดินทั้งหมดในโลกนั้นเป็นของพระองค์ และผู้คนภายใต้ท้องฟ้าก็เป็นสมบัติของพระองค์

ภูมิสถาปัตย์และหลักฮวงจุ้ยโบราณ
                การออกแบบและก่อสร้างพระราชวังแห่งนี้เป็นไปตามหลักฮวกจุ้ยของจีนโบราณ นอกจากจะหันหน้าไปตามหลักฮวงจุ้ยของจีนโบราณ นอกจากจะหันหน้าไปทางทิศใต้รับเอากระแสลมอุ่นและหันหลังให้กับทิศเหนือ ในส่วนของด้านหลังเป็นภูเขาจิ่งซานที่ช่วยบังกระแสลมเย็นในฤดูหนาว และยังเป็นไปตามหลักที่ว่า ที่ทำงานอยู่ด้านหน้า ที่พักอาศัยอยู่ด้านหลัง บรรพบุรุษอยู่ทางซ้าย และเทพอยู่ทางขวาขณะที่อาคารด้านหน้าทำเป็นสถานที่ให้จักรพรรดิออกว่าราชการให้ข้าราชบริพารเข้าเฝ้าส่วนด้านหลังเปรียบเสมือนบ้านของจักรพรรดิ และเป็นที่อยู่พระมเหสี นางสนม ขันที และหญิงรับใช้ สำหรับทางซ้ายเป็นวัดบรรพบุรุษที่ปัจจุบันถูกดัดแปลงให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ทางขวาเป็นแท่นบูชาเทพเจ้าผืนดินและการเพาะปลูก ซึ่งปัจจุบันนั้นเรียกว่า เซ่อจี้ถาน อันเป็นส่วนหนึ่งของสวนสาธารณะจงซาน

เก้ามังกรดั้นเมฆ สัญลักษณ์แห่งองค์จักรพรรดิ           
               

               
             ณ บริเวณทางขึ้นด้านเหนือของพระที่นั่งป่าวเหอเตี้ยนจะสร้างอย่างอลังการ ด้วยการทำช่องกลางปูด้วยแผ่นหินขนาดใหญ่ มีกรอบจำหลักเป็นมาลัยพันรอบถัดเข้ามาในกรอบจำหลักเป็นเกลียวคลื่นมหาสมุทร ตรงส่วนกลางจำหลักเป็นลายเก้ามังกรดั้นเมฆ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดิ

พระราชวัง “9,999.5” ห้อง
                ด้วยพื้นที่ใหญ่โตของพระราชวังต้องห้าม จึงทำให้มีการจัดสรรห้งได้มากถึง 9,999.5 ห้อง ว่ากันว่าการจัดสรรพื้นที่ดังกล่าวนั้นสัมพันธ์กับความเชื่อของลัทธิเต๋าที่ว่าไว้ว่า บนสวรรค์ เทพเจ้าสูงสุดแห่งลัทธิเต๋าเป็นผู้ครอบครองห้องจำนวน 10,000 ห้อง ดังนั้น เมื่อองค์จักรพรรดิเป็นบุตรสวรรค์ พระองค์จึงไม่ควรเทียบชั้นกับพระบิดา จึงต้องลดลงห้องลงครึ่งหนึ่งตามความเชื่อ ปัจจุบันห้องดังกล่าวตั้งอยู่ส่วนทางทิศตะวันตกของพระราชวัง

พระที่นั่งหยังซิน
            เป็นตำหนักหนึ่งที่มีความสำคัญมากของพระราชวังต้องห้าม เพราะเป็นห้องบรรทมของจักพรรดิหย่งเจิ้งและจักรพรรดิองค์ต่อๆมาในราชวงศ์ชิง ตั้งอยู่เป็นเอกเทศจากตำหนักอื่นๆ มีลักษณะเป็นรูปตัวไอ (I) โดยส่วนหน้ากับ ส่วนหลังเชื่อมถึงกัน ส่วนหน้าเป็นที่ทรงงาน ส่วนหลังเป็นที่บรรทม มีระเบียงล้อมรอบ อีกประการหนึ่งที่ตั้งของตำหนักหยังซินนั้นใกล้กับกองกำลังทหารมาก จึงเป็นการสะดวกหากพระองค์ต้องการปรึกษาข้อราชการกับเหล่าแม่ทัพ
            ตำหนักแห่งนี้ยังเป็นสถานที่สำคัญทางประวิตศาสตร์ กล่าวคือ ในสมัยจักรพรรดิถงจื้อและจักรพรรดิกวางซิ่วสู่ แห่งราชศ์วงชิง พระนางชูสีไทเฮาและพระนางฉืออันโปรดให้เหล่าขุนนางเข้าเฝ้าและกราบทูลราชการแก่นาง โดยมีม่านสีเหลืองเป็นฉากกั้นระหว่างกลาง ดังที่เรียกกันว่า ว่าราชการหลังม่านนอกจากนี้เมื่อปี ค.. 1842  และ ค..1860 ราชสำนักชิงและกองทัพต่างชาติได้มาลงนามใน สนธิสัญญานานกิงและสนธิสัญญาปักกิ่งณ ตำหนักนี้เช่นกัน

ลำดับชีวิตของพระราชวังต้องห้าม
                .. 1402  หย่งเล่อแย่งชิงบัลลังก์จากหลานชายได้สำเร็จ
            ค.. 1403  จักรพรรดิหย่งเล่อย้ายราชธานีจากนานกิงมาปักกิ่ง
            ค.. 1406  จักรพรรดิหย่งเล่อทรงสร้างพระราชวังต้องห้าม และเสร็จสมบรูณ์ในปี 1420
.. 1912  คณะผู้ก่อการปฏิวัติบังคับจักรพรรดิปูยีให้สละราชบังลังก์ ซึ่งขณะนั้นพระองค์มีพระ       ชนม์มายุเพียง 6 พรรษา พระองค์ได้รับอนุญาตให้ประทับอยู่ในราชวังต้องห้ามในฐานะที่ไม่ต่างจากนักโทษ
            ค.. 1924  จักรพรรดิปูยีได้รับการปลดปล่อย และเป็นจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ชิง
            ค.. 1987  ฮอลลีวู้ดสร้างภาพยนตร์เรื่อง THE Last emperor  บนพื้นฐานของชีวิตจริงของผู้อาศัยในราชวังต้องห้ามนี้ ซึ่งต่อมาภาพยนตร์เรื่องนี้ชนะเลิศรางวัลออสการ์

กว่าจะเป็นพระราชวังต้องห้าม  
                นั้นเป็นเรื่องในการก่อสร้างพระราชวังต้องห้าม มีการเกณ์แรงงานและช่างฝีมือมาหลายครั้งมาก แต่ละครั้งหมายถึง ช่างฝีมือกว่าหนึ่งแสนคนและคนงานมากว่าหนึ่งล้านคน โดยใช้วัสดุก่อสร้างอย่างดีที่สุดในยุคสมัยนั้น ทั้งนี้ในการขนส่งวัสดุทั้งหมดที่มาจากทั่วสารทิศของประเทศประกอบกับสภาวะอากาศของจีนที่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันตลอด 4 ฤดู นับเป็นเรื่องอยากลำบากมิใช่น้อย โดยเฉพาะการตัดและขนย้ายไม้ซุงสุดโหด ไม้เมื่อตัดแล้วจะต้องทิ้งไว้บนเขาอย่างนั้น รอให้น้ำป่าทะลักพัดลงมาเองจากนั้นจึงค่อยบรรทุกขึ้นเรือมาปักกิ่ง
            ส่วนการขนย้ายหินนั้นยากเข็ญยิ่งกว่า ต้องจ้างชาวไร่ชาวนาในการขนย้ายถึงสองหมื่นคนหินแต่ละก้อนยาว 10 เมตร กว้าง 3 เมตร หนา  1.6 เมตร หากเคลื่อนย้ายผ่านบริเวณที่เป็นน้ำแข็ง ต้องราดน้ำลงไปเพื่อให้น้ำแข็งละลาย เมื่อมาถึงปักกิ่ง ต้องใช้ม้าและลาลากหินเป็นพันๆตัว
            การก่อสร้างยังใช้อิฐมากกว่าสิบล้านก้อนเพื่อปูพื้นพระราชวัง และขั้นตอนในการปูพื้นมีมากกว่า 20 ขั้นตอน แต่ละพื้นที่ใช้เวลาปูพื้นร่วมปีทีเดียว





อ้างอิง: เอรกรินทร์ พึ่งประชา. มรดกโลก มรดกมนุษยชาติ .พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ปาเจรา, 2550.
ที่มาของรูป:   https://www.google.co.th
ที่มาของวีดีโอ:  http://www.youtube.com/watch?v=d13_AOug4D4

                                         

                                                                                                                                                                                                 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น